ปะยางนอกสถานที่

ปะยางนอกสถานที่

ปะยางนอกสถานที่

ปะยางนอกสถานที่ คือ การซ่อมแซมยางรถยนต์ที่มีรอยรั่วจนไม่สามารถใช้งานได้ปกติ เป็นการบริการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าถึงที่เกิดเหตุในเวลาเร่งรีบ หรือยามวิกาล โดยการนำเครื่องมือปะยาง และช่างที่มีความชำนาญการไปบริการถึงที่นั้นๆ  

ปะยางนอกสถานที่เหมาะกับใคร

คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น กับสถานการณ์ “ยางรั่วซึม”  ในขณะที่ใช้รถใช้ถนนทำให้ไม่สามารถเดินทางต่อได้ ไม่ว่าคุณจะไปไหน ต่อไปนี้ชีวิตจะง่ายขึ้นเพราะปัจจุบันมีการให้บริการ ปะยางรถยนต์นอกสถานที่ ที่สะดวกและรวดเร็ว แบบถึงที่ (Delivery)

ปะยางนอกสถานที่ คงเป็นคำตอบที่ดีที่สุดและเหมาะสมกับคนที่

  1. คนที่เร่งรีบและต้องการประหยัดเวลาในการเดินทาง
  2. เกิดเหตุรถยางแตก ยางรั่วซึมในเวลากลางคืน
  3. รถคันใหญ่เกินกว่าจะยกไปร้านซ่อม เช่น รถบรรทุก ที่มีขนาดใหญ่
  4. ผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาไหน เพราะผู้หญิงบางคนไม่มีความรู้ความสามารถในการปะยาง หรือเปลี่ยนยางรถยนต์
  5. คนที่ต้องการปะยางแต่รถอยู่สถานที่ที่ไม่สมารถขนย้ายได้ เช่น บนตึก/อาคารที่จอดรถ

ปะยางมีกี่แบบ

ปะยาง หากแบ่งแยกตามมาตรฐานแล้ว สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ

  1. สตีม คือ การปะยางแบบดั้งเดิม ที่ใช้กับรถทุกชนิด ตั้งแต่ รถจักรยาน ถึง รถบรรทุก โดยแบ่งออกเป็น สตีมร้อน กับ สตีมเย็นอีกด้วย

สตีมเย็น โดยมากจะใช้กับรถจักรยาน เพราะการปะแบบนี้ จะทำให้ยางทนต่อความร้อนได้ต่ำ และรับแรงลมได้ไม่มากนัก แต่มีราคาถูกมากที่สุด เนื่องจากวิธีการปะ แบบสตีมเย็น จะใช้ยางอีกแผ่นหนึ่งมาทำหน้าที่อุดรูรั่ว โดยปกติก็จะใช้ยางในรถที่ถูกทิ้งหรือไม่ใช้งานแล้ว มาทำการประสานเข้าไปกับยางในที่มีการรั่วซึม จากนั้นรอกาวแห้งก็เสร็จ

สตีมร้อน ใช้ได้กับมอเตอร์ไซค์ ไปจนถึง รถสิบล้อ โดยจะใช้ยางปะชนิดพิเศษ ผ่านกระบวนการหลอมด้วยความร้อน จากนั้นประกบกับรอยแผล และใช้เครื่องมือในการกดเพื่อประสานแผ่นยาง กับยางรถของเรา ให้แนบชิดสนิทสนม ทิ้งไว้ซักพักก็ใช้งานต่อได้

ข้อดีของการปะแบบสตรีม

-เป็นการปะที่ปิดแผลได้สนิทมากที่สุด

ข้อเสียของการปะแบบสตรีม

-ราคาแพง และอาจเกิดผลเสียแก่โครงยางได้ จากการโดนความร้อนกดทับ

  1. สอดใส้ เป็นกรรมวิธีแบบใหม่ล่าสุด โดยจะใช้วิธี ถอนของมีคมออกจากยางเป็นอันดับแรก จากนั้นใช้ตะไบหางหนูแทงเข้าไปในรูเพื่อทำความสะอาด ตามมาด้วยการใช้เส้นยางผสมกับใยสังเคราะห์มาชุบลงไปบนน้ำยาที่มีส่วนผสมของยางดิบและกาวสำหรับประสาน สุดท้ายก็นำเส้นยางดังกล่าวยัดเข้าไป ด้วยเครื่องมือพิเศษ เป็นอันเสร็จพิธี

ข้อดีของการปะแบบสอดไส้

-ราคาถูก ปะง่าย ใช้เวลาน้อย

ข้อเสียของการปะแบบสอดไส้

-กรณีที่ตัวปะหรือกาวไม่ได้มาตรฐาน อาจจะเกิดการรั่วซึมอีกได้

ปะยางแบบไหนดี

ปะยาง แบบไหนดีที่สุด คงพูดได้ยากนะคะ เพราะมันก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป

สตีมเย็น ราคาถูกมากที่สุด แต่ทนต่อความร้อนได้ต่ำ และรับแรงดันได้น้อย จึงใช้ได้แค่ในเฉพาะจักรยานไม่สามารถใช้กับรถยนต์ได้

สตีมร้อน รอยรั่วจะมีความแน่นสนิทที่สุด ทนต่อความร้อน และรับน้ำหนักได้ดี แต่ข้อเสียของการปะแบบ สตีมร้อน หากเป็นยางที่ไม่มียางใน ความร้อนจะทำให้โครงสร้างของยางเสียหายได้ แต่หากเป็นยางแบบมียางใน อาจเกิดความเสียหายของยางรอบๆ บริเวณแผลปะที่ถูกความร้อนได้เช่นกัน ทั้งนี้ยังอาจส่งผลให้ล้อสั่นแม้จะทำการถ่วงล้อเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม หรือบางครั้งทำให้เกิดยางระเบิดขณะใช้งานขึ้นมาได้ด้วยนะคะ 

สอดใส้ สามารถปะได้โดยไม่ต้องถอดยางออกจากกระทะล้อ และไม่ต้องถอดกระทะล้อออกจากรถ ใช้เวลาการปะรวดเร็ว สามารถถ่วงล้อได้ง่าย เพราะน้ำหนักของยางเปลี่ยนแปลงน้อย แต่ก็มีข้อเสียที่ว่า การรับน้ำหนัก และการทนต่อความร้อนจะสู้การปะแบบสตีมร้อนไม่ได้ พูดง่ายๆก็คือ มันไม่เหมาะกับรถที่ใช้ความเร็วสูงและบรรทุก

ดังนั้นการปะยาง ในแต่ละแบบมันก็มีข้อดี ข้อเสีย ต่างกันออกไป จึงขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละชนิดของรถค่ะ ลองดูว่าแบบไหนเหมาะกับการใช้งานของเรามากที่สุด แต่ที่แน่ๆประสิทธิภาพมันสู้ยางที่ไม่เคยปะไม่ได้แน่นอน

ปะยางที่ร้าน vs ปะยางนอกสถานที่

ปะยาง ที่ร้านคือการนำรถไปจอดไว้ที่ร้าน อาจจะใช้เวลานานในการนั่งรอ บางครั้งเวลาไม่เอื้ออำนวย อาจจะรถติด การจราจรที่คับคั่ง ทำให้เสียเวลา และอาจไม่ปลอดภัยหากยางรถรั่วมากๆอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

ปะยางนอกสถานที่ เป็นการบริการปะยางถึงที่ ที่สะดวกและรวดเร็วและประหยัดเวลา เหมาะสำหรับชีวิตที่เร่งรีบโดยไม่ต้องขับรถไปไว้ที่ร้าน แถมมีความปลอดภัยมากกว่า

ปะยางราคาเท่าไหร่

  1. ปะยางแบบสตรีม เหมาะสำหรับการปะเพื่อซ่อมรอยตำจากตะปู หรือรอยขาดแบบฉีกแบนที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก มีความคงทนใกล้เคียงกับยางแบบเดิมๆ และยังรับแรงอัดได้ดี ส่วนข้อข้อเสียคือใช้เวลาในการปะนานเพราะต้องถอดยางออกจากล้อ ที่สำคัญต้องถ่วงล้อใหม่หลังจากปะเสร็จ หากยางมีความร้อนสูงเป็นเวลานาน ก็อาจมีความเสี่ยงที่ทำให้ชุดปะยางหลุดร่อนออกจากเนื้อยางได้ เพราะไม่ได้หลอมเป็นชิ้นเดียวกัน ค่าบริการต่อแผลประมาณ 150-300 บาท
  2. ปะยางแบบสอดไส้ คือ ไม่ต้องถอดยางออกจากล้อแม็ก และยังทำงานได้รวดเร็วด้วยเวลาไม่เกิน 3 นาที ซึ่งเป็นการซ่อมปากแผลเพื่อป้องกันลมออก อีกทั้งยังป้องกันไม่ให้น้ำเข้ายางทางดอกยางได้ แต่อาจมีอาการลมยางซึมออกบ้าง ค่าบริการต่อแผลประมาณ 70-100 บาท